“สมัยก่อนสื่อมวลชนทำหน้าที่ในฐานะ ‘ผู้รักษาประตูข่าวสาร หรือ Gatekeeper’ ที่คอยกรองข่าวให้กับประชาชน
แต่ในวันนี้ทุกคนที่เป็นผู้ใช้สื่อสามารถส่งสารเองได้ จึงต้องทำหน้าที่ในการกรอง
และพิจารณาว่าข่าวใดเชื่อถือได้/ไม่ได้ด้วยตนเอง”
นายวสันต์
ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เล่าว่า
ด้วยสถานการณ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของปัญหาข่าวลวง ข่าวปลอม
จึงเกิดการรวมพลังของภาคีเครือข่าย 8 องค์กร เพื่อสร้างกลไกการรับมือต้านข่าวลวง
สร้างความตระหนักรู้ และวัฒนธรรมการตรวจสอบที่มาของข่าวให้คนในสังคมก่อนจะเชื่อหรือแชร์ข้อมูลออกไป
ข่าวลวง
ข่าวปลอม เป็นปรากฎการณ์ของสังคมยุคดิจิทัล
ถือเป็นปันหาระดับสากลที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ช่องทางสื่อสารบนโลกออนไลน์ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วและง่ายต่อการใช้งาน
จึงเกิดผู้ทำหน้าที่ส่งสารเปนจำนวนมาก อย่างที่เรียกว่าทุกวันนี้ทุกคนสามารถเป็นสื่อเองได้
ทำให้บางข้อมูลขาดการตรวจสอบข้อเท็จจริง เกิดการเผยแพร่ข่าวลวง ข่าวปลอม
ส่งผลกระทบในเชิงลบกับสังคมเป็นวงกว้าง
ทางด้าน
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ประธานคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภค
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านของสื่อมวลชนที่พัฒนาจากสื่อกระจายเสียงและสื่อสิ่งพิมพ์
เข้าสู่ยุคของสื่อดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์
ทำให้บทบาทของสื่อมวลชนแบบดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไป
การตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและแหล่งที่มาของข่าวเปลี่ยนไป
ผู้รับสารมีช่องทางในการรับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น การผลิตข้อมูลข่าวสารในหลากหลายรูปแบบรวมถึงข้อมูลข่าวสารลวงจึงเป็นปัญหาระดับโลก
“การแชร์ข่าวลวงข่าวปลอม
ข้อมูลผิด ๆ ถูก ๆ ถือเป็น 1 ใน 3 สิ่งที่เรามักจะแชร์กันเป็นประจำ ซึ่งส่งผลต่อความเข้าใจผิดของสังคม
ไม่ว่าจะเรื่องยา การรักษา และพฤติกรรมต่าง ๆ ไปจนถึงเรื่องเพศ เรื่องค้าขาย
ซึ่งมีผลกระทบมากกว่าข่าวสุขภาพด้วยซ้ำ” ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม
ผอ.สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวเสริม
การร่วมมือกันต่อต้านข่าวลวงข่าวปลอมในทุกระดับของสังคม
ผลักดันนโยบายให้เห็นเป็นรูปธรรมในการต่อต้านและขับเคลื่อนงาน จะพัฒนาเป็นองค์ความรู้และส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจ
รู้เท่าทันสื่อสารมวลชนและสื่อดิจิทัลได้ดี
ดังนั้นก่อนจะแชร์
จะคอมเมนต์อะไรบนสื่อสังคมออนไลน์ควรเช็คข้อมูลข่าวสารก่อน
เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวลวง ข่าวปลอม
ที่เขียนขึ้นมาเพื่อเรียกยอดวิวนะครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น